chainhoist のブログ

รอกไฟฟ้า รอกไฟฟ้า เครนยกของ ชั้นวางของเหล็ก

รู้จักกับปั๊มหอยโข่ง ข้อดี ข้อเสีย

ปั๊มน้ำคือเครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย mechanic และ Electricity / engine มี 2 ส่วน มีหัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดันและปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก

ปั๊มหอยโข่ง คืออะไร?

ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นปั๊มชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม ใช้กันมากที่สุด เป็นปั๊มที่ใช้ใบพัดหมุน สร้างแรงเหวี่ยงให้น้ำ หรือของเหลว เกิดแรงเหวี่ยง และไหล นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม, เทศบาล, โรงน้ำทิ้ง และน้ำเสีย, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้าปิโตรเลียม, เหมืองแร่, โรงเคมี และอื่น ๆ อีกมากมาย


รู้จักกับ รอกโซ่ คือการใช้งานสำหรับยกสิ่งของที่หนัก เพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของไปยังจุดที่เราต้องการ ทำให้สะดวกรวดเร็วและลดการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่การใช้งาน รอกโซ่ นั้น เราต้องรู้น้ำหนักของสิ่งที่เราจะใช้รอกโซ่ยก อีกทั้งยังต้องทราบว่า รอกโซ่ ที่เราใช้งาน เหมาะสมสำหรับการใช้ยกวัสดุนั้นๆรึเปล่า ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปทราบถึง


ทำไมถึงเรียกปั๊มหอยโข่ง? ปั๊มน้ำชนิดนี้ ที่เรียกว่าปั๊มหอยโข่ง เพราะว่า ระบบการเหวี่ยงน้ำรูปร่างเหมือนหอยโข่ง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่งมีข้อดี คือ มีเครื่องที่ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บำรุงรักษาได้ง่าย การสูบน้ำของปั๊มหอยโข่ง มักนิยมนำไปใช้กับงานที่ต้องการปริมาณการไหลของน้ำระดับ ปานกลางถึงมาก

ประเภทของปั๊มหอยโข่ง


ปั๊มหอยโข่งสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งาน การบริการ การใช้งานตามมาตรฐานระดับประเทศ หรือระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น ปั๊มหนึ่งตัว สามารถอยู่ในภาคส่วนการใช้งานที่ต่างกันได้ และในบางครั้งแค่เห็นชื่อของปั๊มเราก็รู้แล้วว่ามันทำงานอย่างไร

การทำงานของปั๊มหอยโข่ง

การทำงานหลักของปั๊มหอยโข่ง คือ มอเตอร์ จะสร้างพลังงานให้กระแสน้ำ เกิดการไหล และเหวี่ยงให้ของเหลวเคลื่อนที่ตามทิศทางการหมุน โดยมีใบพัด และปลอก ควบคุมทิศทางการไหล ในปั๊มหอยโข่ง ของเหลว จะเข้าไปในปลอก ตกลงบนใบพัดที่ตาของใบพัด หมุนวนตามแนวแกน และหมุนออกไปด้านนอก ในแนวรัศมีจนกว่าใบพัดจะเข้าสู่ส่วนกระจายของปลอก ในขณะที่ผ่านใบพัดนั้น ของเหลว จะได้รับทั้งความเร็ว และความดันไปพร้อม ๆ กัน

ข้อดี-ข้อเสียของปั๊มหอยโข่ง


ปั๊มหอยโข่ง(Centrifugal Pump) สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานที่ต่าง ๆ เกือบทุกประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการสูบน้ำแบบทั่วไป เพื่อการอุปโภคบริโภค การสูบระบายน้ำเสีย ตามแหล่งชลประทาน และการส่งสารเคมี เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต แต่ว่าทำไมปั๊มประเภทนี้ ถึงใช้ได้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เรามาดูข้อดี-ข้อเสีย ของปั๊มประเภทนี้กัน ดังนี้


ปั๊มหอยโข่งง่ายต่อการซ่อมบำรุง
แน่นอนว่าการที่เราลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่สำคัญสักหนึ่งชิ้น ก็อยากจะให้มันอยู่กับเราไปนาน ๆ ไม่เสียได้เลยยิ่งดี แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้เราต้องซื้อใหม่อยู่เรื่อย ๆ นั่นเอง แต่ปั๊มหอยโข่งมีส่วนประกอบที่น้อย และแต่ละส่วนมีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน เราจึงสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานของปั๊มได้นั่นเอง


ปั๊มหอยโข่งประหยัด
เนื่องจากปั๊มหอยโข่ง มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างน้อยกว่าปั๊มประเภทอื่น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้ราคาขายลดลง และประหยัดการลงทุนของลูกค้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังประหยัดในเรื่องของพื้นที่ติดตั้ง และการถ่ายเทพลังงานอีกด้วย


ปั๊มหอยโข่งรองรับการไหลได้มาก
สำหรับงานไหน ที่ต้องการการไหลมาก โดยที่แรงดันไม่สูงมาก ปั๊มประเภทนี้ ถือว่าตอบโจทย์ เพราะปั๊มหอยโข่ง รับพลังงานโดยตรงจากมอเตอร์ เพื่อถ่ายเทไปให้ของเหลว ในรูปแบบของแรงเหวี่ยง จากการหมุนทำให้ของเหลว สามารถไหลได้ในปริมาณที่เยอะขึ้นนั่นเอง


ปั๊มหอยโข่งไม่รองรับของเหลวที่หนืด
ข้อเสียแรกของปั๊มหอยโข่ง คือ ค่าความหนืด (Viscosity) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของของเหลวชนิดต่าง ๆ หรือรู้จักกันในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า แรงต้านทานการไหลภายใน ซึ่งทำให้ต้องใช้พลังงาน ในการเคลื่อนย้ายที่มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลให้การถ่ายเทพลังงาน แบบหมุนเหวี่ยงของปั๊มหอยโข่ง มีประสิทธิภาพที่ลดลง และอาจทำให้ตัวปั๊มเสียหายได้ ถ้าใช้กับของเหลวที่มีค่าความหนืดมากเหล่านี้


ปั๊มหอยโข่งไม่รองรับระบบที่มีแรงดันสูง
เพราะปั๊มหอยโข่ง มีการออกแบบการถ่ายเทพลังงานแบบต่อเนื่อง ทำให้พลังงานส่วนใหญ่ ถูกถ่ายเทไปที่การไหลมากกว่าแรงดัน จึงเกิดการออกแบบปั๊มน้ำหอยโข่ง แบบหลายใบพัดขึ้น เพื่อเพิ่มทำให้เป็นการเพิ่มพลังงานของของเหลวขึ้นนั่นเอง